การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม

สวัสดีค่ะ หลายๆคนอาจจะรู้จัก ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.30) แต่อาจจะคำนวณไม่เป็น วันนี้เราจะมารู้จักภาษีมูลค่าเพิ่มเยอะขี้น รวมถึงวิธีการคำนวณด้วย ดังนั้นในแต่ละเดือนภาษีหรือเดือนปฏิทิน หน้าที่ของผู้ประกอบการจะต้องนำภาษีขายหักออกจากภาษีซื้อเพื่อคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งหรือขอคืนเดือนภาษีหรือเดือนปฎิทิน  ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนจะต้องหาหลักฐานใบกำกับภาษีขาย และใบกำกับภาษีซื้อเป็นหลักฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และรวมทั้ง ใบเพิ่มหนี้ ใบลดหนี้

สมการการคำนวณ

ภาษีขาย – ภาษีซื้อ = ภาษีที่ต้องชำระหรือขอคืน

  • ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้า ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีหน้าที่นำส่วนต่างไปชำระภาษีที่กรมสรรพากรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป
  • ถ้าภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการมีหน้าที่ขอคืนภาษีซื้อจากส่วนต่างโดยยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

ตัวอย่างการคำนวณเบี้ยปรับและเงินเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ได้แสดงการคำนวณภาษีขายหักด้วยภาษีที่ซื้อ

กรณีไม่ได้ยื่นแบบ ภ.พ.30

  1. การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีต้องชำระ  

ภาษีขาย (บาท)     1,000

ภาษีซื้อ      750

ภาษีที่ต้องชำระ        250

เงินเพิ่ม มาตรา 89/1  250 X 1.5% ต่อเดือน

เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)250X 2 เท่า     1.2

  • การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มมีภาษีชำระเกิน           

ภาษีขาย (บาท)     1,000

ภาษีซื้อ      1,750

ภาษีที่ต้องชำระ        0

ภาษีที่ชำระไว้เกิน (750)

เงินเพิ่ม มาตรา 89/1             ไม่มี

เบี้ยปรับ มาตรา 89(2)         ไม่มี

กรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษียื่นแบบแสดงรายการภาษี (ภ.พ.30) ไว้ไม่ถูกต้องหรือมีข้อผิดพลาด อันเป็นเหตุให้จำนวนภาษีขายหรือจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้คลาดเคลื่อนไปตามมาตรา 89(4) แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ ไม่ว่าจะได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีภายในกำหนดเวลาหรือยื่นแบบแสดงรายการภาษีเมื่อพ้นกำหนดเวลา ให้คำนวณเบี้ยปรับดังนี้

  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ขาดไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีขายที่แสดงไว้ขาดไป และคำนวณเบี้ยปรับอีกหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ถูกต้อง ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้เกินไป และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้ขาดไป ไม่ต้องคำนวณเบี้ยปรับแต่อย่างใด
  • กรณีแสดงจำนวนภาษีขายไว้ถูกต้อง และแสดงจำนวนภาษีซื้อไว้เกินไป ให้คำนวณเบี้ยปรับหนึ่งเท่าของจำนวนภาษีซื้อที่แสดงไว้เกินไป

ในบทความนี้อาจจะทำให้หลายๆคนเข้าใจในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมากขี้นและทำให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยลงได้นะค่ะ