การทำลายสินค้า

การทำลายสินค้า

คำว่า ทำลาย คือการทำให้สินค้า ไม่มี หรือ ไม่อยู่ในสภาพที่เป็นสินค้า เช่น การเผา การทุบ การบด การตัดเป็นชิ้นๆ การเท ฝัง กลบ (ที่เป็นของเหลว) เป็นต้น

แต่ถ้าสินค้ายังมีตัวตนเป็นสินค้าให้เห็น ไม่ถือเป็นการทำลาย เช่น การนำสินค้าชำรุดไปบริจาคหรือมอบให้หน่วยงานต่างๆซึ่งเมื่อไม่ใช่การทำลายสินค้า

เนื่องจากการทำลายสินค้าไม่ได้ก่อให้เกิดรายได้ที่จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ตาม ม.65 แห่งประมวลรัษฎากรและไม่ถือเป็นการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะต้องเสีย Vat  ตาม ม.77/2 แห่งประมวลรัษฎากร

ผลของการทำลายเอกสาร

บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล มีสิทธินำมูลค่าต้นทุนของสินค้าที่ถูกทำลายมาลงเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบระยะเวลาบัญชีที่ทำลายได้ ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับสินค้าดังกล่าว ผู้ประกอบการ VAT  VAT  สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวณ VAT ได้ ไม่เป็นภาษีซื้อต้องห้ามเมื่อได้มีการทำลายสินค้าในภายหลัง

แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายเอกสาร

กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการทำลายสินค้าไว้ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541 ลงวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541

การทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ โดยสภาพไม่สามารถเก็บรักษาไว้ได้  เช่น ผลิตภัณฑ์อาหาร เวชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ต้องทำดังนี้

  • ต้องมีการตรวจสอบสินค้า ดังกล่าวว่าเสียหายตามเงื่อนไขที่แต่ละกิจการได้กำหนดไว้หรือไม่ และต้องได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในการพิจารณาให้เป็นสินค้าเสียหาย
  • เมื่อได้รับอนุมัติให้ทำลายของเสียหรือสินค้าหรือเศษซากจากผู้มีอำนาจอนุมัติให้ทำลายแล้ว ให้มีบุคคลอย่างน้อย ประกอบด้วย ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชี ฝ่ายขายหรือฝ่ายตรวจนับ (ถ้ามี) ร่วมสังเกตการณ์ และลงรายชื่อเป็นพยานในการทำลาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี พร้อมทั้งให้เชิญผู้สอบบัญชีมาเป็นพยานในการทำลาย

ทั้งนี้ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่จำเป็นต้องแจ้งให้เจ้าหนี้ที่สรรพากรร่วมเป็นพยานในการทำลายได้

การทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพสินค้าที่มีตำหนิ สินค้าที่หมดสมัยนิยม สินค้าที่หมดอายุ ที่โดยสภาพสามารถเก็บรักษาและรอการทำลายพร้อมกันได้เมื่อมีปริมาณที่เหมาะสม บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับข้อแรก เพียงแต่กรณีนี้ต้องแจ้งการทำลายให้สรรพากรพื้นที่ในท้องที่ที่รับผิดชอบทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 30 วัน ก่อนวันทำลาย  ซึงสรรพากรพื้นที่อาจส่งเจ้าหน้าที่ไปดูการทำลายด้วยก็ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละกรณี