ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าถือเป็นค่ารับรองไม่

สวัสดีค่ะ เผลอแป๊ปเดียว นี้ก็ผ่านมาครึ่งปีละสำหรับนักบัญชี  นักบัญชีที่ดีก็ต้องวางแผนเรื่องรายได้และค่าใช้จ่ายอยู่ตลอดเวลา เพื่อไม่ให้ลูกค้าหรือเจ้านายบ่นตอนปลายปี คำถามที่เจ้านายมักบ่นเราอยู่เสมอคือ ใบเสร็จค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าที่พัก  ค่าของขวัญปีใหม่ เป็นรายจ่ายทางบัญชีได้ไม่ แล้วเราจะบันทึกเป็นค่าอะไรทางบัญชี

และแล้วปัญหาที่นักบัญชีมักพบบ่อยก็คือ วันดีคืนดี เจ้านายก็เอาใบเสร็จค่าอาหารที่ไปทานข้าวกับครอบครัวมายื่นให้ แล้วบอกว่านี้ใช้เป็นค่ารับรองนะ ความเป็นลูกน้องที่ดีก็กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ก็ต้องรับมาด้วยความกระอักกระอวน ถ้าไม่อยากเป็นแบบนั้น นักบัญชีก็ต้องค่อยชี้แจ้งและบอกเจ้านายอยู่เสมอว่าการเลี้ยงรับรองต้องมีหลักเกณฑ์แบบไหนบ้าง เพื่อจะได้ค่อยระวัง

วันนี้จะมาพูดเกี่ยวกับค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าเลี้ยงรับรองลูกค้าต่างๆ ค่าใช้จ่ายเหล่านี้พูดรวมๆก็คือ “ค่ารับรอง” นั้นเองค่ะ วันนี้เรามารู้จักเรื่องค่ารับรองกันค่ะ

ค่ารับรอง

การใช้สิทธิค่ารับรอง ม.65 ตรี (4 ) ค่ารับรองหรือค่าบริการส่วนที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 143 (พ.ศ.2522)

  1. ลักษณะของค่ารับรอง.จำนวนรายจ่ายค่ารับรอง
  2. จำนวนรายจ่ายค่ารับรอง
  3. หลักฐานรายจ่ายค่ารับรอง

ค่ารับรองกฎกระทรวง ฉบับที่ 143

  1. ลักษณะค่ารับรอง
  • เป็นกรณีจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และผู้ที่ถูกรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีส่วนเข้าร่วมในการนั้น
  • เป็นค่าใช้จ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการ เช่น ค่าอาหาร ค่าที่พัก ค่าเครื่องดื่ม ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น
  • การให้เป็นสิ่งของต้องมีมูลค่าไม่เกิน 2,000 ต่อคน/คราว
  • ที่สำคัญต้องมีหลักฐานการจ่าย และได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจในกิจการ และค่ารับรองที่กล่าวมาต้องรวมค่า VAT ด้วย
  1. จำนวนรายจ่ายค่ารับรอง
  • ค่ารับรองหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่ายจริง
  • ค่ารับรองหักได้ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายก่อนหักรายจ่าย เทียบกับเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า
  • ค่ารับรองหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
  1. หลักฐานรายจ่ายค่ารับรอง
  • ต้องมีกรรมการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง
  • ต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรอง

ค่ารับรองแบบไหนสามารถนำมาคำนวณภาษีได้ แล้วเราจะใช้ได้หรือเปล่า หลักการและขั้นตอนการวางแผนค่ารับรองมีดังนี้

  • สำคัญมากคือต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน
  • ต้องมีการระบุว่ามีการพาบุคคลภายนอกที่เป็นบุคคลที่เกี่ยงข้องและเป็นประโยชน์ต่อกิจการไปรับรอง และจะต้องมีชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อไว้ในใบเบิกเงิน
  • ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกิจการ มีประโยชน์กับกิจการยังไง
  • จำนวนเงินค่ารับรอง นำมาหักรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่ายแต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ โดยคำนวณจาก

ยอดรายได้ทั้งปี หรือ ยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี

เทียบกับ

ทุนจดทะเบียนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

จำนวนใดมากกว่า   X  ร้อยละ 0.3   

แต่หักได้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

  • กำหนดจำนวนเงินค่ารับรองไม่ให้มีจำนวนสูงเกินกว่า กม. กำหนด
  • หลีกเลี่ยงการให้การรับรองที่เป็นสิงของ เพราะมีการกำหนดว่าจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการให้ได้ไม่ เกิน 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง ส่วนค่าที่พัก ร่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม เป็นต้น ไม่มีการจำกัดจำนวนไว้ และการให้สิ่งของเป็นค่ารับรองอาจจะเสียค่า VAT  เนื่องจาก กม.กำหนดให้ค่ารับรองเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้
  • ถ้าปีไหนไม่มีรายได้หรือยอดขาย ก็สามารถมีค่าใช้จ่ายได้ โดยคำนวณค่ารับรองจากฐานเงินทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วจนถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
  • กรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดมียอดรายได้หรือยอดขายสูงกว่าเงินทุนชำระแล้ว ฐานที่จะนำมาคำนว๊จำนวนค่ารับรองต้องเป็นยอดรายได้หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ

 

มาดูตัวอย่างค่ารับรองกันค่ะว่าแบบไหนนำมาเป็นค่ารับรองได้และไม่สามารถนำมาเป็นค่ารับรองได้

 

ตัวอย่าง

                    คำถาม      ซื้อกระเช้าของขวัญปีใหม่ให้ลูกค้าถือเป็นค่ารับรองหรือเป็นรายจ่ายได้ไม่

                   ตอบ          การซื้อกระเช้าของขวัญที่ซื้อมาแจกลูกค้าให้เป็นของขวัญเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสของขนบธรรมเนียมประเพณี ถือเป็นค่ารับรอง และสามารถเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกระทรวง

 

พูดมาถึงตรงนี้หลายๆคนคงเข้าใจมากขึ้นเรื่องของค่ารับรอง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นกับกิจการได้