ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ การแถมสินค้า

ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับ การแถมสินค้า

  1. กรณีการแถมสินค้าที่ต้องเสีย Vat

การแถมสินค้าที่ไม่ได้แถมไปพร้อมกับการขายสินค้าหรือการให้บริการ หรือมูลค่าของสินค้าที่แถมมากกว่ามูลค่าของสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้ ดังนี้

  • การแถมสินค้าที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน แถมให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ และแม้ว่าจะได้แถมไปพร้อมกับการขายสินค้า หรือการให้บริการก็ตาม แต่มูลค่าของสินค้าที่แถมนั้นมีมูลค่ามากกว่าของสินค้าที่ขายหรือบริการที่ให้
  • การแถมสินค้าในกรณีที่ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการ ได้ซื้อสินค้าหรือรับบริการ เป็นปริมาณหรือมูลค่าตามที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนกำหนดไว้แต่ได้แถมสินค้าไปต่างหากจากการขายสินค้าหรือการให้บริการตามปกติ
  1. กรณีการแถมสินค้าที่ไม่ต้องเสีย Vat
  • การแถมสินค้าที่ได้แถมไปพร้อมกับการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยมูลค่าของสินค้าที่แถมจะต้องไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของบริการที่ให้
  • การเปลี่ยนอะไหล่ หรือการซ่อมแซมสินค้าหรือบริการที่มีการรับประกัน ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าหรือมีการให้บริการโดยมีการรับประกันสินค้าหรือบริการที่มีการชำรุดบกพร่อง หรือเพื่อเหตุอื่นอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน

ตัวอย่าง

คำถาม บริษัทฯเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบ กิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ ได้จัดให้มีน้ำดื่มซึ่งระบุข้อความที่ขวดน้ำดื่มว่า สินค้า แถมห้ามจำหน่าย เป็นของแถมให้แก่ลูกค้า บริษัทฯ จึงขอ ทราบว่า บริษัทฯ ต้องนำมูลค่าน้ำดื่มดังกล่าว มารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐาน ภาษีเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่อย่างไร

คำตอบ  กรณีบริษัทฯ เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มขาย สินค้าหรือให้บริการ โดยมีการแถมสินค้าพร้อมกับการขายสินค้าหรือให้บริการไม่ว่าสินค้าที่แถมนั้น จะเป็นสินค้าประเภทและชนิดเดียว กับสินค้าหรือบริการที่ขายหรือไม่ หากมูลค่าของสินค้าที่แถมไม่เกินมูลค่าของสินค้าที่ขายหรือมูลค่าของการให้บริการ มูลค่าของสินค้าที่ แถมไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นมูลค่าของฐานภาษี แต่อย่างใด ตามมาตรา 79 แห่งประมวลรัษฎากร และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 40)ฯ ลงวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2535

 

สรุปหลักสำคัญ

  • ต้องเป็นการแจกเนื่องในพิธี หรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี
  • ต้องเป็นสิงของที่ให้แก่กันตามประเพณีทางธุรกิจ
  • ต้องมีชื่อผู้ประกอบการ ชื่อการค้า หรือ เครื่องหมายการค้าติดอยู่บนของที่ให้ในลักษณะถาวร เช่น พิมพ์ หรือ พ่นสีบนของที่ให้
  • มีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสมควร

หากขาดข้อใดข้อหนึ่ง จะถือเป็นค่ารับรอง