ภาษี “คนพิการ”

ภาษี  “คนพิการ”

ในสังคมที่มีประชาชากรหนาแน่น จะต้องมีกฎหมายคุ้มครองและมีสิทธิ เสรีภาพ เพื่อคุ้มครองให้ทุกคนในสังคมอยู่ร่วมกันได้อย่างเท่าเทียบ รวมไปถึง คนพิการ”  เพื่อให้ คนพิการ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ที่ได้กำหนดทางเลือกและสิทธิประโยชน์สำหรับนายจ้างโดยมีรายละเอียดดังนี้

สิทธิในการพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ

ให้นายจ้างหรือเจ้าของสถานประกอบการและหน่วยงานของรัฐรับ คนพิการ” เข้าทำงานในอัตราส่วนที่เหมาะสม  คือ ลูกจ้าง 100 คนต่อ  คนพิการ 1 คน (เศษของ 100 ถ้าเกิน 50 = 1 คน)

  • หากไม่มีการจ้างคนพิการเข้าทำงานก็มีหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดให้ส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คือ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ X จำนวนวัน X จำนวนคนพิการ =จำนวนเงินสมทบเข้ากองทุน เช่น (300X365X1) = 109,500  บาท
  • หากไม่มีการจ้างคนพิการเข้าทำงานตามที่กฎหมายกำหนดและไม่ส่งเงินเข้ากองทุน นายจ้างมีทางเลือกในการดำเนินการได้ดังนี้
  1. การให้สัมปทาน คือ การให้สิทธิในการครอบครองหรือใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของตนในการประกอบอาชีพ
  2. การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ คือ การให้สถานที่เพื่อให้ได้ใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ
  3. การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการโดยวิธีพิเศษ คือ การจ้างโดยมุ่งผลสำเร็จของงาน
  4. การฝึกงานคนพิการ คือ การฝึกงานในหลักสูตรที่เป็นการเพิ่มพูนทักษะ ประสบการณ์เพื่อนำไปใช้ประกอบอาชีพ
  5. การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ คือการจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการในสถานประกอบการ ให้มีสิทธิทำงานได้ตามความเหมาะสม
  6. การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือ สำหรับคนพิการ คือ การจัดหาบุคคลซึ่งจดแจ้งเป็นล่ามภาษามือ เพื่ออำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างคนพิการทางการได้ยินกับบุคคลอื่นในสถานประกอบการของตน

สิทธิประโยชน์ทางภาษี คนพิการ

  • นายจ้างมีสิทธินำรายจ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทำงานมาลงเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า
  • เจ้าของอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่ง หรือผู้ให้บริการสาธารณะอื่น มีสิทธินำรายจ่ายในการจัดอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกหรือบริการในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะ บริการขนส่งหรือบริการสาธารณะให้แก่คนพิการในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์มาหักเป็นรายจ่ายได้ 2 เท่า
  • นายจ้างที่จ้างคนพิการเข้าทำงานเกินกว่าร้อยละ 60 ของลูกจ้างในสถานประกอบการมีสิทธิลงรายจ่ายได้ 3 เท่าของค่าใช้จ่ายจริง
  • ผู้ประกอบการมีสิทธินำจำนวนเงินสมทบที่ส่งเข้ากองทุนมาเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
  • การให้สัมปทาน คนพิการ ในสังหาริมทรัพย์หรืออสังหาริมทรัพย์ ไม่มีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆ และไม่มีสิทธินำมูลค่าการให้ใช้ประโยชน์มาถือเป็นรายจ่ายได้
  • การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการในอสังหาริมทรัพย์ให้คนพิการ ไม่มีการจ่ายค่าใช้จ่ายใดๆและไม่มีสิทธินำมูลค่าการให้ใช้สถานที่มาถือเป็นรายจ่าย
  • การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือการจ้างเหมาบริการโดยวิธีพิเศษเป็นไปเพื่อกิจการของตนได้จ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อการจ้าง และมีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปมาลงเป็นรายจ่าย
  • การฝึกงานแก่คนพิการตามหลักสูตรที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานและได้จ่ายค่าใช้จ่ายไปเพื่อการฝึกงานมีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่จ่ายไปมาลงเป็นรายจ่าย
  • การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการมีสิทธินำค่าใช้จ่ายตามจำนวนที่ได้จ่ายไปมาลงเป็นรายจ่าย
  • การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือแก่คนพิการ มีสิทธินำค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปมาลงเป็นรายจ่าย

ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายในการจ้างคนพิการเข้าทำงาน เช่น เงินเดือน ค่าล่วงเวลา โบนัส ค่ารักษาพยาบาล เงินประกันสังคม ในการนำไปใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีต้องมีเอกสารหลักฐานประกอบดังนี้

  1. การจ้างคนพิการเข้าทำงาน จะต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการสัญญาจ้างแรงงาน หลักฐานการจ่ายเงินค่าจ้าง
  2. การจ่ายเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ต้องหลักฐานใบเสร็จรับเงิน ที่ออกโดยกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
  3. การให้สัมปทาน การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการโดยวิธีกรณีพิเศษ การฝึกงาน การจัดให้มีอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกแก่คนพิการ การจัดให้มีบริการล่ามภาษามือแก่คนพิการ ต้องมีหลักฐานการแจ้งผลการใช้สิทธิจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน รวมทั้งเอกสารประกอบการขอใช้สิทธิและหลักฐานการจ่ายเงิน

ทั้งนี้บทความนี้เพื่อให้ทุกคนในสังคมได้ให้ความสำคัญกับ คนพิการที่อยู่ในสังคมร่วมกับเราซึ่งคนเหล่านี้ควรได้รับ สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองเช่นเดียวกับคนปกติ  อย่างไรก็ตาม คนพิการ ที่มีความรู้ ความสามารถพิเศษควรได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีเทียบเท่ากับคนปกติ