ใบทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนการค้า

ใบทะเบียนพาณิชย์ หรือทะเบียนการค้า คือ การจดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 หากประกอบธุรกิจจะต้องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยเฉพาะกิจการประเภทนิติบุคคล เมื่อนายทะเบียนจดทะเบียนเรียบร้อยจะมอบ “ใบทะเบียนพาณิชย์”

ผู้มีหน้าที่จดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่

  1. บุคคลธรรมดาคนเดียว (เจ้าของกิจการคนเดียว)
  2. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  3. นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่มาตั้งสำนักสาขาในประเทศไทย
  4. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  5. บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

พาณิชยกิจที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ได้แก่

  • การค้าเร่ การค้าแผงลอย
  • การบำรุงศาสนาเพื่อการกุศล
  • นิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  • กระทรวง ทบวง กรม
  • มูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  • พาณิชยกิจของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียนตาม ปว.141 ลงวันที่ 1 พฤษภาคม 2515

จะต้องทำการจดทะเบียนพาณิชย์ในท้องที่ที่มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบพาณิชยกิจ

***ในเขตกรุงเทพจดที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และฝ่ายปกครอง สำนักงานเขตทุกแห่ง

***ในภูมิภาคยื่นจดที่เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล 

เมื่อจดทะเบียนพาณิชย์แล้ว ให้จดทำป้ายชื่อที่ใช้ในการประกอบพาณิชยกิจไว้ที่หน้าสำนักงาน และสำนักงานสาขาถ้ามี โดยเปิดเผยภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้จดทะเบียน ป้ายชื่อจะต้องเป็นอักษรไทยอ่านได้ง่ายและชัดเจน แต่ต้องใช้ชื่อให้ตรงกับชื่อที่จดทะเบียนไว้ และถ้าเป็นสำนักงานสาขาต้องมีคำว่า “สาขา” ไว้ด้วย

***หากสูญหายต้องยื่นคำขอรับใบแทนใบทะเบียนพาณิชย์ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่สูญหาย***

กรณีที่เลิกประกอบกิจการแล้ว ให้ผู้ประกอบพาณิชยกิจดำเนินการยื่นขอจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันเลิกประกอบพาณิชยกิจ

***ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ในนามบุคคลธรรมดามีภาระหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งใน 1 ปีจ้องยืนภาษี 2 ครั้ง คือแบบ ภ.ง.ด.94 ภาษีครึ่งปี แบบ ภ.ง.ด. 90 ภาษีทั้งปี***

 

ทั้งนี้หากรายได้จากการขายหรือบริการ่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องจดทะเบียนเป็นผู้ประกอบการภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

 

****www.pornkawinthip.com***